4 ขั้นตอนการดูแลอุปกรณ์ปั้มน้ำโซล่าเซลล์ ให้ใช้งานได้อย่างยาวนาน

 ในการดูแลปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ มีหลายคนยังคิดว่าเป็นคงเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ต้องมีค่าใช้จ่าย ต้องจ้างช่างที่เชี่ยวชาญมาดูแลเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงนั้นการดูแลเป็นเรื่องที่ง่ายอย่างมาก สามารถดูแลได้ด้วยตัวเองเลย สำหรับอุปกรณ์ปั้มน้ำโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานมากถึง 25 ปี แต่ถ้าเราดูแลรักษาเป็นอย่างดี อาจจะยืดอายุการใช้งานได้ถึง 30 ปีเลยทีเดียว วันนี้เราก็เลยจะมาแนะนำวิธีการดูแลปั้มน้ำโซล่าเซลล์แบบง่าย ๆ มาแนะนำกัน จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้างไปดูกันเลย

1. วิธีการดูแลรักษาแผงโซล่าเซลล์

  • ควรเช็ดทำความสะอาดตัวแผงโซล่าเซลล์ ไม่ว่าจะเกิดจากมูลสัตว์หรือคราบฝุ่นสกปรกต่าง ๆ
  • การเช็ดทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์จะต้องใช้น้ำเย็น หรือน้ำธรรดาความสะอาดเท่านั้น ห้ามใช้น้ำร้อนโดยเด็ดขาด
  • ห้ามใช้ผงซักฟอกหรือผงทำความสะอาดอื่นๆ เพื่อใช้ทำความสะอาดแผงโซล่าเซลล์ เพราะอาจจะทำให้แผงโซล่าเซลล์เกิดรอยได้
  • หมั่นตรวจเช็คสภาพของตัวแผงโซล่าเซลล์ว่ายังมีสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ หากตรวจสอบพบว่าแผงโซล่าเซลล์เกิดรอยร้าว รอยแตก หรือเกิดฝ้าบริเวณผิว ให้รีบดำเนินการซ่อมแซมทันที

2. วิธีการดูแลปั๊มน้ำโซล่าเซลล์

  • ในทุกๆ วันให้สังเกตปั๊มน้ำโซล่าเซลล์และตรวจเช็ก ความดันทางท่อดูดและท่อจ่าย การรั่วของ Seal ดู Load ของมอเตอร์ ดูระดับเสียงและการสั่นสะเทือน การหล่อลื่นและตัวช่วยในการหล่อลื่น
  • ทุกๆ 6 เดือนให้ตรวจสอบ การตั้งศูนย์ระหว่างตัวปั๊มน้ำโซล่าเซลล์และต้นกำลัง การเติมน้ำมันหรือจารบีให้หล่อลื่น ตรวจเช็กท่อทางดูดมีรอยรัวหรือไม่
  • ในทุกๆ ปี ควรหมั่นตรวจดูตามเพลา ว่ามีการรั่ว การสึกของปอกเพลา ดูช่องว่างระหว่างใบพัดกับแหวนกันสึก ตรวจและปรับเกจ์วัดที่ใช้กระแสไฟฟ้า การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันที่ใช้ในการหล่อลื่น
  • ไม่เปิดปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ทิ้งไว้เมื่อไม่ได้ใช้งานนานๆ และปิดหัวก๊อกให้สนิททุกครั้ง
  • ควรติดตั้งปั๊มน้ำโซล่าเซลล์ให้สามารถเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก เพื่อลดการใช้พลังงานในการสูบน้ำ

3. วิธีการดูแลรักษาระบบสายไฟและระบบเชื่อมต่อต่างๆ

  • ตรวจสอบความสมบูรณ์ของสายไฟว่ามีการชำรุดหรือไม่
  • หากตอนสับสวิตช์ไฟ แล้วเกิดมีประกายไฟขึ้น แนะนำให้รีบแจ้งช่างที่ชานาญงาน ให้เข้ามาตรวจสอบแก้ไขทันที เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราเอง

4. วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่

  • ตรวจดูปริมาณสารละลายอิเล็กโทรไลต์ว่ามีปริมาณเหลือน้อยหรือไม่ หากเหลือน้อยให้ทำการเติมสารละลายเข้าไปเพิ่มให้อยู่ในระดับที่ใช้งานปรกติ
  • ทำความสะอาดรอยกัดกร่อนบริเวณขั้ว ซึ่งจะมีลักษณะเป็นคราบสีขาวๆ(ขี้เกลือ) เดือนละ 1 ครั้ง
  • ตรวจเช็กระดับแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ หากเกิดสิ่งผิดปกติ ให้ทำการรีบซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่นั้นทันที

เครดิตภาพจาก : leafhousetea.com, cdn.ideglobal.org, blogs.worldbank.org